1. ปฏิรูปประเทศอย่างไร ?
ประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว มีแนวโน้มที่จะกระจายอำนาจต่ำ เนื่องจากมีการผูกขาดอำนาจสูง การผูกขาดอำนาจ จะเกิดขึ้นทั้งโดยนักการเมือง และข้าราชการเอง
ประเทศไทย จะไม่มีทางแก้ปัญหานี้ตก หากไม่กระจายอำนาจออกไป ซึ่งในที่สุด ข้าราชการก็จะถูกแทรกแซง หรือไม่ก็เข้าไปรับใช้นักการเมือง เพราะเป็นผู้ให้คุณให้โทษได้ การกระจายอำนาจ จะช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้ แม้ไม่หมดไป แต่ก็จะดีขึ้นมาก เพราะไม่มีใครที่สามารถผูกขาดอำนาจไว้อย่างเด็ดขาด
2. การกระจายอำนาจ ทำอย่างไร ?
ทำได้โดย การทำให้ประเทศเป็นรูปแบบรัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจสูง กล่าวคือ เป็นรัฐเดี่ยวที่ใกล้จะเป็นสหพันธรัฐ (Quasi Federal State) เช่น อังกฤษ หรือเป็นรัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจสูง เช่น ญี่ปุ่น และกลไกที่นำมาช่วยได้ มีอาทิ
- การให้ประชาชนเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 77 กำหนดให้ การยกจังหวัดเป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ (ไม่ใช่ภูมิภาค) เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งหมายความว่า ไม่มีอะไรมาทัดทานประชาชนได้ วิธีการเช่นนี้ จะเป็นการลดอำนาจของนักการเมือง คือ รัฐบาล และระบบราชการอันเป็นแขนขาที่นักการเมืองใช้
- กองทัพ จะไม่สามารถปฏิวัติได้สำเร็จ เพราะอำนาจถูกกระจายไปทั่ว ไม่ได้ถูกรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพที่เดียว
- จากนั้น ให้ตำรวจไปสังกัดจังหวัดที่เป็นท้องถิ่น
- กระบวนการยุติธรรมจะต้องเฉียบขาด สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ โดยไม่มีการต่อรองนอกระบบ
- โทษทางอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องไม่มีอายุความ
- ส่วนระบบการเมืองต้องออกแบบใหม่ เช่น ส.ส. ไม่ต้องสังกัดพรรค ซึ่งจะถูกควบคุมให้โหวตตามพรรค
- เพิ่ม ส.ส. สัดส่วนให้มากกว่า ส.ส. เขต เพราะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่บริหารพื้นที่ทุกตารางนิ้วอยู่แล้ว ส.ส. มีหน้าที่เพียงออกกฎหมาย ไม่ใช่ผันงบประมาณ
- การแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะต้องคิดว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์
- ส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์ จะยังคงสถิตย์อยู่ตลอดไป เช่น อังกฤษ และ ญี่ปุ่น
- ฯลฯ
ให้รัฐบาลรับผิดชอบเพียงด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ การคลัง และการทหาร นอกนั้นให้จังหวัดรับผิดชอบ จังหวัดจะได้รับงบประมาณมากขึ้น อันเป็นการกระจายความเจริญออกไปจากกรุงเทพ
รัฐบาลจะมีงบประมาณน้อยลง ไม่สามารถทำประชานิยมได้ตามอำเภอใจ
ประชาชนจะถูกฝึกให้เป็นพลเมืองมากขึ้น เพราะต้องรับผิดชอบอนาคตของตัวเองในจังหวัดมากขึ้น ไม่ใช่แค่ผู้รอรับนโยบายจากรัฐ หรือแบมือขอนโยบายประชานิยมเท่านั้น มีการเล่นพวกพ้อง และอุปถัมภ์
ความขัดแย้งของประชาชนในชาติจะลดลง แม้จะไม่หมดไป แต่การจะคงสภาพนี้ไว้แบบเดิม จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะประเทศไม่อาจฝากชะตากรรมไว้ที่การเลือกตั้ง เพียงอย่างเดียว
การเป็นรัฐเดี่ยว ในรูปแบบนี้ จะมีเสถียรภาพ กว่าการเป็นรัฐเดี่ยวที่รวมศูนย์อำนาจอย่างมากแบบเดิม อันจะเป็นการแก้ปัญหา คนจำนวนมากที่ไม่เสียภาษี แต่กลับมีผลในการกำหนดทิศทางการเมืองจากการเป็นเสียงส่วนใหญ่ ในการเลือกตั้ง ถ้าอยู่แบบเดิมก็ ก็จะได้ หัวคะแนน ตำรวจ สส. ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่เป็นสายพาน ส่งนักการเมืองตามภูมิภาคต่าง ๆ ขึ้นสู่อำนาจ
3. เจตจำนงในการปฏิรูปต้องเอาประชาชนนำ ไม่ใช่นักการเมืองหรือชนชั้นนำ
การปฏิรูปจะไม่สำเร็จ หากปล่อยให้นักการเมืองกำหนดทิศทางเอง ซึ่งผลประโยชน์จะไปตกอยู่กับนักการเมืองและชนชั้นนำ ซึ่งแม้ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งมากว่า 80 ปี แต่ก็ไม่ไปไหน มีการปฏิวัติและเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งเป็นเผด็จการรัฐธรรมนูญทั้งฝ่ายขวา (ควง อภัยวงศ์-ปชป.) และฝ่ายซ้าย (คณะราษฎร) ล้วนเป็นความโง่เขลาซ้ำซาก 80 ปี ที่คิดว่า รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งคือ ประชาธิปไตย ประเทศไทย ไม่เคยให้อำนาจกับประชาชน จึงกลายเป็นรัฐราชการที่ใหญ่โต อุ้ยอ้าย ที่ผลประโยชน์ตกอยู่กับชนชั้นนำเท่านั้น
การสร้างประชาธิปไตยจึงต้องเริ่มสร้างโดยอำนาจของประชาชน "ธรรมะจึงจะสถิตย์อยู่" และเป็นธรรมาประชาธิปไตย ทั้งองค์รวม ด้วยเจตจำนงเหล่านี้ จะต้องวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน มีระยะเวลากำหนดที่ชัดเจน ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ก่อนหรือหลัง ให้ระบบการเมืองและกลไกราชการ รองรับกับการปกครองที่ประชาชนมีอำนาจอย่างแท้จริง
ประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว มีแนวโน้มที่จะกระจายอำนาจต่ำ เนื่องจากมีการผูกขาดอำนาจสูง การผูกขาดอำนาจ จะเกิดขึ้นทั้งโดยนักการเมือง และข้าราชการเอง
ประเทศไทย จะไม่มีทางแก้ปัญหานี้ตก หากไม่กระจายอำนาจออกไป ซึ่งในที่สุด ข้าราชการก็จะถูกแทรกแซง หรือไม่ก็เข้าไปรับใช้นักการเมือง เพราะเป็นผู้ให้คุณให้โทษได้ การกระจายอำนาจ จะช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้ แม้ไม่หมดไป แต่ก็จะดีขึ้นมาก เพราะไม่มีใครที่สามารถผูกขาดอำนาจไว้อย่างเด็ดขาด
2. การกระจายอำนาจ ทำอย่างไร ?
ทำได้โดย การทำให้ประเทศเป็นรูปแบบรัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจสูง กล่าวคือ เป็นรัฐเดี่ยวที่ใกล้จะเป็นสหพันธรัฐ (Quasi Federal State) เช่น อังกฤษ หรือเป็นรัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจสูง เช่น ญี่ปุ่น และกลไกที่นำมาช่วยได้ มีอาทิ
- การให้ประชาชนเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 77 กำหนดให้ การยกจังหวัดเป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ (ไม่ใช่ภูมิภาค) เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งหมายความว่า ไม่มีอะไรมาทัดทานประชาชนได้ วิธีการเช่นนี้ จะเป็นการลดอำนาจของนักการเมือง คือ รัฐบาล และระบบราชการอันเป็นแขนขาที่นักการเมืองใช้
- กองทัพ จะไม่สามารถปฏิวัติได้สำเร็จ เพราะอำนาจถูกกระจายไปทั่ว ไม่ได้ถูกรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพที่เดียว
- จากนั้น ให้ตำรวจไปสังกัดจังหวัดที่เป็นท้องถิ่น
- กระบวนการยุติธรรมจะต้องเฉียบขาด สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ โดยไม่มีการต่อรองนอกระบบ
- โทษทางอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องไม่มีอายุความ
- ส่วนระบบการเมืองต้องออกแบบใหม่ เช่น ส.ส. ไม่ต้องสังกัดพรรค ซึ่งจะถูกควบคุมให้โหวตตามพรรค
- เพิ่ม ส.ส. สัดส่วนให้มากกว่า ส.ส. เขต เพราะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่บริหารพื้นที่ทุกตารางนิ้วอยู่แล้ว ส.ส. มีหน้าที่เพียงออกกฎหมาย ไม่ใช่ผันงบประมาณ
- การแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะต้องคิดว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์
- ส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์ จะยังคงสถิตย์อยู่ตลอดไป เช่น อังกฤษ และ ญี่ปุ่น
- ฯลฯ
ให้รัฐบาลรับผิดชอบเพียงด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ การคลัง และการทหาร นอกนั้นให้จังหวัดรับผิดชอบ จังหวัดจะได้รับงบประมาณมากขึ้น อันเป็นการกระจายความเจริญออกไปจากกรุงเทพ
รัฐบาลจะมีงบประมาณน้อยลง ไม่สามารถทำประชานิยมได้ตามอำเภอใจ
ประชาชนจะถูกฝึกให้เป็นพลเมืองมากขึ้น เพราะต้องรับผิดชอบอนาคตของตัวเองในจังหวัดมากขึ้น ไม่ใช่แค่ผู้รอรับนโยบายจากรัฐ หรือแบมือขอนโยบายประชานิยมเท่านั้น มีการเล่นพวกพ้อง และอุปถัมภ์
ความขัดแย้งของประชาชนในชาติจะลดลง แม้จะไม่หมดไป แต่การจะคงสภาพนี้ไว้แบบเดิม จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะประเทศไม่อาจฝากชะตากรรมไว้ที่การเลือกตั้ง เพียงอย่างเดียว
การเป็นรัฐเดี่ยว ในรูปแบบนี้ จะมีเสถียรภาพ กว่าการเป็นรัฐเดี่ยวที่รวมศูนย์อำนาจอย่างมากแบบเดิม อันจะเป็นการแก้ปัญหา คนจำนวนมากที่ไม่เสียภาษี แต่กลับมีผลในการกำหนดทิศทางการเมืองจากการเป็นเสียงส่วนใหญ่ ในการเลือกตั้ง ถ้าอยู่แบบเดิมก็ ก็จะได้ หัวคะแนน ตำรวจ สส. ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่เป็นสายพาน ส่งนักการเมืองตามภูมิภาคต่าง ๆ ขึ้นสู่อำนาจ
3. เจตจำนงในการปฏิรูปต้องเอาประชาชนนำ ไม่ใช่นักการเมืองหรือชนชั้นนำ
การปฏิรูปจะไม่สำเร็จ หากปล่อยให้นักการเมืองกำหนดทิศทางเอง ซึ่งผลประโยชน์จะไปตกอยู่กับนักการเมืองและชนชั้นนำ ซึ่งแม้ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งมากว่า 80 ปี แต่ก็ไม่ไปไหน มีการปฏิวัติและเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งเป็นเผด็จการรัฐธรรมนูญทั้งฝ่ายขวา (ควง อภัยวงศ์-ปชป.) และฝ่ายซ้าย (คณะราษฎร) ล้วนเป็นความโง่เขลาซ้ำซาก 80 ปี ที่คิดว่า รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งคือ ประชาธิปไตย ประเทศไทย ไม่เคยให้อำนาจกับประชาชน จึงกลายเป็นรัฐราชการที่ใหญ่โต อุ้ยอ้าย ที่ผลประโยชน์ตกอยู่กับชนชั้นนำเท่านั้น
การสร้างประชาธิปไตยจึงต้องเริ่มสร้างโดยอำนาจของประชาชน "ธรรมะจึงจะสถิตย์อยู่" และเป็นธรรมาประชาธิปไตย ทั้งองค์รวม ด้วยเจตจำนงเหล่านี้ จะต้องวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน มีระยะเวลากำหนดที่ชัดเจน ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ก่อนหรือหลัง ให้ระบบการเมืองและกลไกราชการ รองรับกับการปกครองที่ประชาชนมีอำนาจอย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น