Google Insights
Google Insights เป็นหนึ่งในอีกหลายสิ่งที่ทำให้ผมอยากตื่นนอนตอนเช้าในช่วงนี้ หลังจากห่างหายเรื่องการหาคีย์เวิร์ดมานามพอสมควร วันนี้ดาวคีย์เวิร์ดขึ้นมาตรงหัวผมพอดี ถึงเวลาแล้วครับที่จะมาอัปเดทการใช้เครื่องมือหาคีย์เวิร์ดอย่าง Google Insights กันซักที
ไม่ว่าคุณจะทำเงินหรือทำการตลาดหรือทำมาหากินอะไรก็ตามตั้งแต่เปิดร้าน อาหาร สร้างโรงงาน นำเข้านำออกสินค้า และที่คุ้นเคยกันดีที่สุด การสร้าง Campaign Adwords, หาเงินกับ Affiliate และการหาเงินจากจำนวนคลิกกับ Ad Network อย่าง Google AdSense คุณก็ควรจะดูตาม้าตาเรือซักหน่อยว่าโลกเขาทำอะไรกันอยู่ ตลาดไหนมีแนวนโน้มที่จะดึงดูดคนมากขึ้นหรือน้อยลงตั้งแต่นี้ไป ไม่งั้นก็อาจจะต้องเสียเงินเสียเวลา และเหนื่อยฟรีได้ง่ายๆ
สมมุติโง่ๆ ว่า วันนี้ถ้าผมจะสร้างบล็อกเรื่องการเลือกซื้อทีวี แต่เลือกยี่ห้อไม่ถูกว่าจะเอา Sony หรือ Samsung เพราะดูจาก Google KW Tool แล้ว KW ทั้งสองก็มีการค้นหาที่พอไปวัดไปวาได้พอๆ กัน ผมจะรู้อนาคตได้ยังไงว่ายี่ห้อไหนจะทำให้อนาคตของบล็อกผมอับเฉาหรือดีได้ แล้วผมจะรู้ได้ยังไง หลายคนอาจตอบว่าก็ใช้ Google Trends สิรู้แน่ ใช่ครับรู้แน่ แต่ไม่รู้ทั้งหมดเท่า Google Insights อย่างแน่นอน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นล่ะ?
Google Trends จะบอกคุณได้ถึงความนิยมของ KW แต่ KW นั้นคุณต้องคิดหามาเองเท่านั้น Trends มันจะไม่บอกไม่แนะนำถึง KW หรือนิชที่ใก้ลเคียงที่สอดคล้องและที่น่าสนใจอื่นๆ อีกเลยว่า KW ไหนกำลังมาแรงอีกบ้างเหมือนกับ Google Insights
นอกจากจะแนะนำ KW ที่น่าสนใจอื่นๆ แล้ว Google Insights ก็ยังบอกอีกด้วยว่า KW เหล่านั้นกำลังดวงตกหรือมีแนวโน้มความแรงในจังหวัดไหนบ้างด้วย สมมุติว่าถ้าคุณกำลังจะเปิดตัวสินค้าในช่วงอีกสองสามเดือนต่อจากนี้ เอาเป็นตระแกงปิ้งย่างรุ่นใหม่ล่าสุดใช้แล้วไม่ดำ ไม่เป็นสนิม แต่ไม่รู้ว่าจะไปจัดงานที่จังหวัดไหนดีถึงจะมีคนมางานเยอะที่ สุด สิ่งที่จะให้คำตอบคุณได้ก็คือ Google Insights อีกนั่นเอง
Filter Results & กราฟ ‘เส้นประ’ Forecast เพื่อทำนายเทร็นในอนาคต
ยังครับ ยังมีอีก จากภาพด้านบนจะเห็นว่า นอกจาก G. Insights จะอนุญาติให้ตั้งค่ากรองผลลัพธ์เพื่อวิเคราะห์เทร็นเฉพาะประเทศ จังหวัด หรือทั้งโลกแล้ว (เหมือน G. Trends) ยังตั้ง Filter กรองการวิเคราะห์เฉพาะ Web Search, Image Search, News Search และ Product Search ได้อีก อีกทัั้งให้คุณตั้งค่าวิเคราะห์ตามระยะเวลาย้อนหลังตามสั่งได้อีกด้วย
ทำให้รู้ลึกรู้จริงในทุกแง่มุมของความนิยมของแต่ละคีย์เวริ์ดจริงๆ ยัังไงก็ไปลองใช้กันดูนะครับ ยังมีอะไรมากกว่าที่ผมพูดอีกหลายอย่าง ที่ผมเองอาจจะยังไม่รู้ แต่ถ้าคุณไม่รู้ใช้ยังไง ผมแนะนำให้เข้าไปที่ Youtbe Goole Channel จากนั้นคุณคงรู้นะว่าต้องทำยังไงต่อไป แล้วจะรู้ว่ามันทำอะไรได้อีกมาก ผมเองพักหลังๆ มานี้ก็ใช้เจ้า Insights หาไทเทิ้ลบทความภาษาอังกฤษดีๆ มามากต่อมากแล้ว
ป.ล. คีย์เวิร์ดที่ G. Insights แนะนำนั้นจะเฉลี่ยค่า (Normalize) เป็น 1-100 นะครับ ไม่ใช่จำนวนการค้นหาที่แท้จริง ไม่งั้นผลลัพธ์ต่างๆ จะไม่สามารถเอามาเปรียบเทียบกันได้แบบนี้ เช่น ในคีย์เวิร์ดคำว่า TV ในจังหวัด สุโขทัย กับ กรุงเทพ แสดงกราฟออกมาที่ 100 เท่ากัน ไม่ได้แปลว่ามันมีจำนวนการค้นหาเท่ากัน (Traffic Search Volume) แต่ค่าแปลว่าในแต่ละจังหวัดนั้นมีสัดส่วนเฉลี่ยการค้นหาเท่ากันเมื่อดูจาก จำนวน Traffic ทั้งหมดของแต่ละจังหวัด โอย… งงป่าวเนี่ย ถ้างง ถามกันมาได้ครับ
ขอบคุณที่มา : http://www.digitalmoneylife.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น